ผ่าฟันคุด – Wisdom Tooth Removalโดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแมกซิลโลเฟเชียล ที่สตูดิโอเดนทัล ขอนแก่น

การผ่าฟันคุด
การผ่าฟันคุด คือการผ่าตัดเพื่อนำฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติออก เนื่องมาจากไม่มีช่องว่างที่เพียงพอให้ฟันซี่นั้นขึ้นได้ หรือทิศทางการขึ้นของฟันล้มหรือเอียงผิดปกติไป ฟันคุดมักฝังตัวอยู่ที่ขากรรไกรใต้เหงือกบริเวณฟันกรามซี่ที่สามซึ่งเป็นฟันซี่ที่อยู่ด้านในสุด โดยฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถมองเห็นได้
คุณมีฟันคุดหรือไม่? อาการเจ็บปวดในช่องปาก บวม หรือความไม่สะดวกที่มาจากฟันคุด อาจเป็นสิ่งที่หลายคนต้องเผชิญ แต่ไม่ต้องกังวล เพราะที่คลินิกทันตกรรมสตูดิโอเดนทัล ขอนแก่น เรามีบริการผ่าฟันคุดอย่างครบวงจร ที่ดูแลโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแมกซิลโลเฟเชียล (Oral and Maxillofacial Surgery) ทำให้คุณสามารถวางใจได้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด
เลือกอ่านเฉพาะสิ่งที่คุณสนใจ

ฟันคุดที่ทันตแพทย์แนะนำให้ผ่าออก
- ฟันคุดที่ส่งผลเสียต่อฟันซี่อื่นๆ เช่น ทำให้เกิดรากฟันละลาย หรือขัดขวางการขึ้นของฟันซี่ข้างเคียง
- ฟันคุดอาจก่อให้เกิดถุงน้ำรอบๆ แล้วอาจทำให้บริเวณขากรรไกรนั้นถูกทำลายจนเป็นหลุมและทำลายเส้นประสาทที่บริเวณขากรรไกรได้
- ฟันคุดที่ทำให้เกิดฟันผุ และเหงือกอักเสบ เนื่องจากฟันคุดทำให้เกิดซอกที่ทำให้ทำความสะอาดฟันได้ยาก ทำให้มีการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย เกิดฟันผุและเกิดอาการบวมของเหงือกขึ้นมาได้
- ฟันคุดที่ส่งผลต่อการจัดฟัน โดยจะทำให้ไม่สามารถเคลื่อนฟันไปยังบริเวณที่มีฟันคุดขวางอยู่ได้
ทำไมต้องผ่าฟันคุด ?
โดยปกติแล้วหากฟันคุดนั้นก่อให้เกิดปัญหา หรือจากภาพเอกซเรย์แสดงให้เห็นว่าฟันคุดส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่นๆ ฟันคุดก็จำเป็นต้องผ่าตัดออก ซึ่งทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกหากฟันคุดซี่นั้นอาจส่งผลกระทบกับฟันซี่อื่น ทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดอาการอักเสบติดเชื้อ โดยไม่ควรรอให้เกิดอาการปวดหรือบวมก่อน เพราะอาจทำให้การรักษายุ่งยากขึ้นไปอีก
“ไม่ควรรอให้เกิดอาการปวดหรือบวมก่อน เพราะอาจทำให้การรักษายุ่งยาก”

ผ่าฟันคุด เจ็บไหม
- ระดับความเจ็บหลังผ่าฟันคุด ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้
- ตำแหน่งและความซับซ้อนของฟันคุด: ฟันคุดที่อยู่ลึกใต้เหงือก หรืออยู่ในตำแหน่งที่ยากต่อการผ่า มักจะมีอาการเจ็บมากกว่า
- เทคนิคการผ่าตัดของทันตแพทย์: ทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์และเทคนิคการผ่าตัดที่ดี มักจะช่วยลดอาการเจ็บและบวมหลังผ่าตัดได้ ในข้อนี้สามารถไว้ใจอาจารย์ทันตแพทย์ศัลยศาสตร์ช่องปากที่คลินิกทันตกรรมสตูดิโอเดนทัล ขอนแก่น ได้เลยค่ะ
- ความไวต่อความเจ็บของแต่ละบุคคล: แต่ละคนมีความไวต่อความเจ็บต่างกัน บางคนอาจรู้สึกเจ็บมาก บางคนอาจรู้สึกเจ็บน้อย
- โดยทั่วไป ระดับความเจ็บหลังผ่าฟันคุด มักอยู่ในระดับปานกลาง แต่สามารถควบคุมได้ด้วยยาแก้ปวดที่ทันตแพทย์สั่งให้
ผ่าฟันคุด ราคาเท่าไหร่ ที่สตูดิโอเดนทัล ขอนแก่น
- ค่าใช้จ่ายในการผ่าฟันคุดจะแตกต่างกันไปตามความยาก-ง่ายของแต่ละเคส แต่โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้มีดังนี้:
ถอนฟันคุดที่โผล่พ้นเหงือกแล้ว: 800-1,500 บาท
ผ่าฟันคุดที่ฝังในเนื้อเยื่ออ่อน: 1,500-2,000 บาท
ผ่าฟันคุดที่มีกระดูกหุ้มบางส่วน: 3,000-3,500 บาท
ผ่าฟันคุดเคสยากหรือฝังลึก: 3,500-4,500 บาท - สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาทางทันตกรรม เช่น ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด ได้ปีละไม่เกิน 900 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งภายในวงเงินนี้
อาการที่มักพบหลังผ่าฟันคุด
- อาการปวด: อาการปวดมักเกิดขึ้นหลังจากที่ยาชาหมดฤทธิ์ ซึ่งโดยปกติจะเริ่มรู้สึกปวดภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ระดับความปวดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความยากของการผ่าฟันคุด ทันตแพทย์มักให้ยาแก้ปวดเพื่อลดความไม่สบาย
- อาการบวม: อาการบวมบริเวณแก้มและเหงือกมักเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วง 2-3 วันแรก และจะค่อยๆ ลดลงในวันถัดไป โดยทั่วไปอาการบวมจะหายสนิทภายใน 7 วัน ในบางกรณีอาจมีรอยช้ำที่ผิวหนังบริเวณแก้ม ซึ่งจะค่อยๆ จางลงเอง
- อาการชา: บางคนอาจรู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น หรือคาง ซึ่งเกิดจากเส้นประสาทที่อยู่ใกล้กับตำแหน่งฟันคุดถูกกระทบกระเทือน อาการนี้มักเป็นชั่วคราวและจะค่อยๆ ดีขึ้นภายในไม่กี่วันหรือสัปดาห์ แต่ในบางกรณีที่เส้นประสาทได้รับผลกระทบมาก อาการชาอาจคงอยู่ได้นานขึ้น จึงควรแจ้งทันตแพทย์หากมีอาการชาเป็นเวลานานผิดปกติ
- มีเลือดออก: หลังการผ่าตัด อาจมีเลือดซึมออกจากแผลเล็กน้อยในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งถือเป็นอาการปกติ การกัดผ้าก๊อซตามที่ทันตแพทย์แนะนำจะช่วยให้เลือดหยุดได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีเลือดออกมากผิดปกติหรือไม่หยุดภายในเวลาที่กำหนด ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์
วิธีบรรเทาอาการหลังผ่าฟันคุด
- ทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง: หลังจากผ่าฟันคุด อาการปวดอาจเกิดขึ้นเมื่อยาชาหมดฤทธิ์ ทันตแพทย์มักให้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยากลุ่มต้านการอักเสบ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน เพื่อช่วยลดอาการปวดและอักเสบ ควรทานยาให้ตรงตามคำแนะนำของแพทย์ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น
- ประคบเย็น: ในช่วง 2-3 วันแรก ควรใช้ ประคบเย็น บริเวณแก้มด้านที่ผ่าฟันคุด โดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งหรือเจลเย็น ประคบครั้งละ 15-20 นาที แล้วพักประมาณ 10 นาที ก่อนประคบซ้ำ วิธีนี้ช่วยลดอาการบวมและอักเสบได้ดี หลังจาก วันที่ 3 เป็นต้นไป ให้เปลี่ยนเป็น ประคบอุ่น โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหรือถุงประคบร้อน เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดอาการช้ำและเร่งการฟื้นตัวของแผล
- การรับประทานอาหารและดูแลช่องปาก: หลังการผ่าตัด ควรเลือกอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ซุป หรือโยเกิร์ต และหลีกเลี่ยงอาหารร้อนหรือเผ็ดจัดในช่วงแรก ควรเคี้ยวอาหารฝั่งตรงข้ามกับแผล เพื่อป้องกันแรงกดทับและเศษอาหารติดแผล นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการดูดน้ำจากหลอด เพราะแรงดูดอาจทำให้ลิ่มเลือดที่ช่วยสมานแผลหลุดออก ทำให้เลือดออกซ้ำ
การทำความสะอาดช่องปากควรทำอย่างระมัดระวัง แปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรหลีกเลี่ยงบริเวณแผลผ่าตัด และสามารถบ้วนปากด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาฆ่าเชื้อตามที่ทันตแพทย์แนะนำ โดยไม่ควรบ้วนน้ำแรงเกินไป เพราะอาจกระทบกระเทือนแผล - ควรพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ: หากพบว่ามีอาการ ปวดรุนแรงขึ้นบวมมากขึ้นมีเลือดออกไม่หยุดหรือมีหนองไหลออกจากแผล ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลแห้ง (Dry Socket) ซึ่งเป็นภาวะที่ลิ่มเลือดที่ช่วยสมานแผลหลุดออกก่อนกำหนด ทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง

ผ่าฟันคุด กี่วันหาย?
- ระยะเวลาการฟื้นตัวหลังผ่าฟันคุดขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการผ่าตัดและการดูแลแผลของแต่ละบุคคล โดยทั่วไป อาการปวดและบวมจะลดลงภายใน 7 วัน และแผลจะเริ่มหายดีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งสมานตัวเต็มที่ภายใน 2-4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม กระดูกขากรรไกรบริเวณที่ถอนฟันออกอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะฟื้นตัวสมบูรณ์
- ระยะเวลาการฟื้นตัวแต่ละช่วง
24 ชั่วโมงแรก: อาจมีเลือดซึมออกจากแผลเล็กน้อย ควรหลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำแรงๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์
2-3 วันแรก: อาการบวมจะอยู่ในช่วงสูงสุด ควรใช้การประคบเย็นเพื่อลดบวม
3-7 วัน: อาการปวดและบวมจะค่อยๆ ดีขึ้น แผลเริ่มสมานตัว
1-2 สัปดาห์: แผลภายนอกหายสนิท สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้
3-6 เดือน: กระดูกขากรรไกรจะฟื้นตัวสมบูรณ์
ข้อปฏิบัติหลังการผ่าฟันคุด
- กัดผ้าก๊อซประมาณ 1-2 ชั่วโมง ถ้ามีเลือดรือน้ำลาย ให้กลืน ห้ามบ้วนทิ้งหรือบ้วนน้ำ
- ประคบน้ำแข็งในวันแรกที่ผ่าฟันคุด โดยประคบตรงบริเวณแก้มที่ผ่าฟันคุด และวันถัดไปให้ประคบน้ำอุ่น เพื่อช่วยลดอาการบวมและเขียวช้ำ
- แปรงฟันได้ตามปกติ งดการห้วนหรือกลั้วปากแรงๆ ในวันแรกที่ผ่าฟันคุด
- งดสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- งดรับประทานอาหารแข็งและอาหารเผ็ดร้อน เนื่องจากทำให้แสบหรือเจ็บแผลได้
- ทำงานได้ตามปกติ แต่ควรงดออกกำลังกายหนักในวันที่ผ่าฟันคุด
- รับประทานยาแก้ปวด และรับประทานยาฆ่าเชื้อให้ครบ ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
- ตัดไหมตามนัด หลังจากผ่าฟันคุด 7 วัน
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น เลือดไหลไม่หยุด มีอาการปวดหรือบวมมาก ให้กลับมาพบทันตแพทย์โดยด่วน